top of page
WORLD

FACEBOOK'S DISCRIMINATION

การเล่นเฟซบุ๊คที่มาพร้อมกับ

การเลือกชนชั้น

 

สองสามปีนี้เป็นปีที่เฟซบุ๊ก ‘อ่วม’ จริงๆ นะ

อ่วมขนาดที่นิตยสาร Wired ฉบับมีนาคมยังแสดงภาพความอ่วมออกมาเป็นรูปคุณมาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก ที่ถูกทุบตีจากทุกฝ่ายจนน่วม, เฟซบุ๊กในช่วงสองสามปีหลังนั้นมีปัญหาไม่เว้นแต่ละวัน ตั้งแต่ข้อกล่าวหา (ซึ่งต่อมาเป็นความจริง) ว่ายอมรับเงินจากรัสเซียเพื่อให้เข้ามามีส่วนแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ ผ่านระบบโฆษณา, การสนับสนุนข่าวปลอมและคลิกเบท, สื่อเองก็รักเฟซบุ๊กน้อยลงเรื่อยๆ เพราะเฟซบุ๊กเองก็มีบทบาทในการผลักให้พวกเขาตายเร็วขึ้น แถมยังบีบ ‘รีช’ พวกเขาจนแทบหายใจไม่ออก, คนที่เคยลงทุนหรือมีตำแหน่งบริหารในเฟซบุ๊กก็ออกมาแสดงความเสียใจกับสิ่งที่ตัวเองสร้างขึ้น จนในปีที่ผ่านมา คุณมาร์กเองก็ต้องหันมาทบทวนชีวิตดูใหม่ เดินทางไปเยี่ยมคนให้ครบทุกรัฐในสหรัฐอเมริกา เพื่อจะได้ออกจาก ‘ฟองสบู่’ ของตัวเองบ้าง และในปี 2018 เขาก็ประกาศว่าเป้าหมายหลักของชีวิตเขาในปีนี้คือการปรับปรุงเฟซบุ๊กให้ดี ให้เป็นที่ที่เขาจะบอกลูกๆ ว่า “พ่อสร้างสิ่งนี้” ได้อย่างภาคภูมิใจ

 

การปรับปรุงเฟซบุ๊กในปีนี้ถูกปล่อยออกมาเป็นลูกคลื่น บางลูกพูดถึงการปรับปรุงนิวส์ฟีดให้โชว์เรื่องราวจากเพื่อนและครอบครัวมากขึ้น บางลูกก็บอกว่าจะเน้นข่าวจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ และบางลูกก็บอกว่าจะเน้นข่าว ‘ท้องถิ่น’ มากขึ้น เพราะมาร์กเชื่อว่าข่าวท้องถิ่นเท่านั้นที่จะกระตุ้นการมีส่วนร่วมกับเมืองได้อย่างแท้จริง – เขาพูดกระทั่งว่า ไม่แคร์หรอกว่าคนจะใช้เฟซบุ๊ก (เป็นจำนวนชั่วโมง) ลดลง แต่ที่สำคัญคือเวลาที่คุณใช้เฟซบุ๊ก ต้องเป็นเวลาที่มีคุณภาพ

ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเชื่อได้สักแค่ไหน

เมื่อสักสัปดาห์ที่แล้ว เริ่มมีรายงานว่าเฟซบุ๊กไปจดสิทธิบัตรชิ้นใหม่ (จดไว้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่แล้ว แต่เพิ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์ Patent Office ของสหรัฐอเมริกาในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้) สิทธิบัตรชิ้นนี้มีชื่อตรงไปตรงมาว่า “ระบบการแยกแยะชนชั้นทางสังคมเศรษฐกิจของผู้ใช้โดยดูจากข้อมูลประกอบ” (Socioeconomic Group Classification Based On User Features)

 

ถึงตรงนี้เราก็ต้องไม่ลืมนะครับว่าเฟซบุ๊กเคยมีปัญหาการ ‘กีดกัน’ คนบางกลุ่มมาก่อนหน้าแล้ว เช่น ก่อนหน้านี้เคยมีปัญหาว่าผู้ลงโฆษณาสามารถเลือกที่จะไม่แสดงโฆษณากับคนบางเชื้อชาติหรือบางผิวสีได้ (เช่น โฆษณาขายบ้าน ก็สามารถกันคนผิวดำออกได้) พอสื่อรายงานเรื่องดังกล่าว เฟซบุ๊กก็ยอมถอยด้วยการปิดฟีเจอร์นี้ออก

แต่ก็ดูเหมือนเฟซบุ๊กจะยังยึดมั่นแนวทางนี้อยู่? – ในสิทธิบัตรชิ้นใหม่ ระบบจะแยกแยะ ‘ชนชั้น’ ของคุณออกมาด้วยตัวแปรต่างๆ เช่นข้อมูลประชากร การเป็นเจ้าของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลการใช้อินเทอร์เนต ข้อมูลการเดินทาง ข้อมูลในครัวเรือน

 

ภาพประกอบในสิทธิบัตรแสดงตัวอย่างการแยกแยะความน่าจะเป็น ว่าคุณอยู่ในชนชั้นกลางแค่ไหน โดยดูจากอายุของคุณก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงไล่เรียงมายังคำถามตามโฟลวชาร์ต เช่น คุณมีอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เนตได้กี่เครื่อง (ถ้ามี 0 เครื่อง ก็จะมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นชนชั้นกลางต่ำลง ถ้ามีมากกว่า 2 เครื่อง ก็อาจสูงขึ้น) และดูจากการศึกษา ว่าหากคุณจบปริญญาสูงหน่อย ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นชนชั้นกลางมากขึ้น ในขณะที่อีกด้านนำข้อมูลว่าคุณเป็นเจ้าของบ้านไหมมาคิด (ถ้าไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน ก็จะมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นชนชั้นกลางต่ำลง 5%) และยังแบ่งแยกตามที่อยู่ของบ้านด้วย เช่น ถ้าอยู่ใน Palo Alto (ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นเขตที่มีรายได้สูงมากๆ จนคนแซวว่า “เฟซบุ๊กไม่เข้าใจเลยว่าคนชั้นกลางคืออะไร” เนี่ย) ก็จะมีความเป็นชนชั้นกลางมากขึ้น

 

ทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นตัวเลข ‘เป๊ะๆ’ นะครับ แต่เป็นเพียงการแสดงตัวอย่างสิ่งที่ระบบเรียนรู้จักรกลอาจแยกแยะเมื่อผ่านการเรียนรู้ข้อมูลแล้วเท่านั้นเอง

(เฟซบุ๊กไม่ใช้คำว่า “ชนชั้นต่ำ” หรือ “lower class” แต่ใช้คำว่า “ชนชั้นแรงงาน” หรือ “working class” ในสิทธิบัตร)

แน่นอนว่าเฟซบุ๊กจดสิทธิบัตรนี้เพื่อแบ่งแยกชนชั้นให้ผู้ลงโฆษณาลงโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (ในสิทธิบัตรเขียนว่าระบบนี้จะถูกใช้โดย “third parties to increase awareness about products or services to online system users” ซึ่งแปลว่าถูกใช้เพื่อโฆษณานั่นแหละ) เราต้องยอมรับว่าผู้ลงโฆษณา ก็ดูตัวแปรพวกนี้เป็นหลักในการลงโฆษณาเช่นกัน หากเปรียบเทียบกับโลกก่อนหน้า ผู้ลงโฆษณาสินค้าหรู อาจไม่เลือกลงโฆษณาในนิตยสารที่มีกลุ่มเป้าหมายรายได้ต่ำ แต่จะเลือกลงโฆษณาในนิตยสารสำหรับผู้บริหาร แต่ปัญหาก็คือ หากคุณเป็นเจ้าของบริษัทที่ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยแพงมากๆ คุณก็อาจเลือกให้ชนชั้นแรงงานเห็นโฆษณาของคุณเท่านั้นก็ได้ คำถามที่สำคัญคือ แล้วเมื่อเฟซบุ๊กเปิดตัวระบบที่มีฟีเจอร์นี้ออกมาจริงๆ มันจะส่งผลลัพธ์อย่างไร

ปัจจุบันไม่มีการเห็นพ้องต้องกันนักว่าการนิยามชนชั้นที่ดีที่สุดคืออะไร ในต่างประเทศเองก็มีข้อถกเถียงเรื่องนี้อยู่มาก ในการสำรวจชาวอังกฤษครั้งหนึ่งในปี 2013 พบว่าชาวอังกฤษยุคใหม่ถูกแบ่งออกเป็น 7 ชนชั้น โดยไม่ได้แบ่งตามอาชีพ ฐานะ และการศึกษาเท่านั้น แต่ใช้ต้นทุนทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมาพิจารณาด้วย (อ้างอิงจาก Voice TV) 7 ชนชั้นนี้คือ ผู้ดี, ชนชั้นกลางแต่กำเนิด, ชนชั้นจากในนาม, แรงงานรุ่นใหม่, แรงงานดั้งเดิม, งานรับใช้ลูกค้า และคนยากจนที่สุดในสังคม

 

ในปี 2015 Pew Research Center คำนวณชนชั้นโลก (Global Class) โดยดูจากรายได้เป็นหลัก โดยใช้หลักเกณฑ์ “เงินได้ต่อวัน” จากต่ำที่สุด เงินได้ต่อวันต่ำกว่า $2 (62 บาท) จะถือว่ายากจน, $2.01-10 (63-310 บาท) รายได้ต่ำ, $10.01-20 (311-620 บาท) รายได้ปานกลาง, $20.01-50 (621-1612 บาท) รายได้ปานกลางค่อนข้างสูง, และมากกว่า $50 ต่อวันจะถือว่ารายได้สูง ซึ่งเมื่อวัดตามเกณฑ์นี้แล้ว คนส่วนใหญ่บนโลกจะมีรายได้ต่ำหรือยากจน (56 และ 15% ตามลำดับ)

คุณสามารถดูสิทธิบัตรนี้ของเฟซบุ๊กได้ที่เว็บของ USPTO

Mobike อาจเป็นเจ้าแรกของธุรกิจประเภทนี้ที่ขยับขยายเข้ามาในเชียงใหม่ (ซึ่งในประเทศไทยถือว่าเป็นเมืองที่สองต่อจากกรุงเทพฯ) แต่แน่นอนว่าพวกเขาไม่มีทางเป็นเจ้าเดียวอย่างแน่นอน เพราะมีคู่แข่งจากประเทศจีนอย่าง Ofo ที่เปิดตัวในกรุงเทพฯ ไปแล้วเมื่อประมาณกลางปี 2017 โดยทั้งคู่เป็นบริษัทที่มูลค่าหลักพันล้านเหรียญเช่นเดียวกัน และตามข่าวลือที่หนาหูคือ Ofo กำลังเตรียมตัวขยายไปยังหัวเมืองอื่นๆ ในประเทศไทยอย่างพัทยาและเชียงใหม่ด้วย (เจ้าอื่นๆ ที่พอจะมีชื่อเสียงคือ Bikeshare, LimeBike และ SPIN)

 

ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังอีกทวีปหนึ่งของโลกที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอเนียร์JUMP บริษัทสตาร์ทอัพจากเมืองนิวยอร์กที่ก่อตั้งในปี 2013 กำลังจะเข้ามาร่วมในวงธุรกิจBike-Sharing เช่นเดียวกับ Mobike และ Ofo แต่สิ่งที่ทำให้ JUMP น่าสนใจคือพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Ride-Sharing ที่มีมูลค่าในตลาดสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกชื่อ Uber เพราะฉะนั้นตอนนี้ธุรกิจจักรยานให้เช่าแบบไร้สถานี (Dockless Bike-Sharing) กำลังจะมีผู้เล่นหน้าใหม่ที่มีทั้งประสบการณ์และกำลังทรัพย์ที่พร้อมสำหรับการแย่งส่วนแบ่งของตลาดเพิ่มอีกราย

ในเวลานี้ JUMP (Uber Bike) เป็นเพียงบริษัทเดียวที่ได้รับอนุญาตให้ทดลองโครงการ Bike-Sharing ในเมืองซานฟรานซิสโก โดยก่อนหน้านี้ Ofo ได้พยายามส่งจดหมายโต้แย้งไปยังเจ้าหน้าที่ของเมืองเพื่อให้พวกเขาอนุญาตบริษัทสตาร์ทอัพอื่นๆ  (ซึ่งพวกเขาก็หมายถึงตัวเองนั้นแหละ) ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเมืองบ้าง โดยหัวหน้าฝ่ายงานรัฐของ Ofo ได้เขียนเปิดเผยในจดหมายว่า “รู้สึกผิดหวังกับการตัดสินใจให้ใบอนุญาตแบบไม่โปร่งใสเป็นอย่างมาก”

โดยช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา Ofo ยังคงพยายามโน้มน้าวหน่วยงานของรัฐ แต่ก็ดูเหมือนว่าไม่ได้มีผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลง JUMP ยังคงเป็นเพียงบริษัทเดียวที่สามารถให้บริการในเมืองนี้ได้ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่รัฐเองก็ออกมาให้เหตุผลว่า

“เราต้องมั่นใจว่าการขยายตัวของธุรกิจ dockless bike-sharing 

จะไม่ทำให้มันมีจำนวนที่เยอะเกินไปจนเกะกะ

หรือไม่มีความสมดุลในการกระจายตัวในพื้นที่”

 

ในอาทิตย์หน้า JUMP จะปล่อยจักรยานให้เช่าแบบไร้สถานี จำนวน 250 คัน ไปตามจุดต่างๆ ทั่วเมืองซานฟรานซิสโก หลังจากนั้น 9 เดือนก็สามารถเพิ่มได้อีก 250 คัน โดยลูกค้าสามารถตามหา/เรียกใช้ รถจักรยานของ JUMP ผ่านทางแอพ Uber ได้โดยตรง ซึ่งก็เหมือนกับ MobikeหรือOfoที่คนอยากใช้บริการต้องเป็นฝ่ายเดินตามหาจักรยานบนแผนที่ด้วยตัวเอง(เคยมีคนถามเหมือนกันว่ากดเรียกเหมือน Uber เหรอ?) ใส่ข้อมูลบัตรเครดิต หลังจากนั้นการเรียกใช้บริการก็แค่ใส่เบอร์โทรและรหัสเข้าไปที่เครื่องบริเวณท้ายรถจักรยาน เสร็จแล้วก็ปลดล็อก

 

สิ่งที่ทำให้ JUMP ได้รับความสนใจมากกว่าของบริษัทอื่นก็คือมันเป็น Electronic Bike (e-bike) หรือจักรยานไฟฟ้า โดยมีการใช้มอเตอร์ไฟฟ้ามาช่วยทำให้การปั่นใช้แรงน้อยลงสามารถปั่นขึ้นเนินหรือระยะทางไกลได้ดีขึ้นและไม่เหนื่อยมากเหมือนกับจักรยานทั่วไปเหมาะสำหรับคนที่ต้องการใช้ปั่นไปทำงานเพราะไม่ต้องตัวโชกเหงื่อเดินเข้าออฟฟิศ โดยมีอัตราค่าบริการอยู่ที่ 2 เหรียญ (ราวๆ 65 บาท) ต่อ 30 นาที

   CEO ของ JUMP กล่าวว่า “มันมีโอกาสที่ e-bikes จะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างจักรยานกับรถยนต์ เพราะมันทำให้เราปั่นได้ไกลขึ้น ถึงจุดหมายปั่นสนุกมากจนเรารู้สึกมั่นใจว่าเทคโนโลยีของเราจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้คนอยากค้นหาและเดินทางในเมืองมากยิ่งขึ้น” โดยก่อนหน้านี้ JUMP ได้ให้บริการที่ Washington D.C. ไปแล้ว และกำลังพยายามขยายไปเมือง Sacramento และ Rhode Islan ภายในปีนี้

การเข้าเป็นส่วนหนึ่งกับ Uber ทำให้ JUMP ได้เปรียบบริษัทอื่นด้วยจำนวนฐานลูกค้าที่กว้างขวาง Andrew Salzberg หัวหน้าทีม Transportation Policy and Research ของUber บอกว่าพวกเขาคิดเสมอว่าอยากทำธุรกิจเกี่ยวกับจักรยานแต่มันยังไม่ลงตัวซะที แต่พอ มี JUMP เขารู้สึกว่า  มันเป็นโอกาสที่ดี และเป็นการสร้างทางเลือกใหม่กับผู้ที่ใช้บริการ Uber เป็นประจำอยู่แล้วในกรณีรถติดหรือมันฉุกเฉินที่การกระโดดควบจักรยานและปั่นอาจทำ

ให้ถึงที่หมายเร็วกว่า แถมเป็นการ สนับสนุนให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงส่วนต่างๆ ของเมืองมากยิ่งขึ้น  ร้านเล็ก  ร้านน้อยในตรอกซอยสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ค่อยมีที่จอดรถหรือร้าน อาหาร ริมทางสิ่งเหล่านี้ล้วนได้ประโยชน์จากธุรกิจักรยานเช่าแบบไร้  สถานี ทั้งนั้น แต่ที่สำคัญที่สุดคือสุขภาพที่ดีขึ้นและมลพิษในอากาศที่จะลดลงตามไปด้วย

 

 

 

 

นี่เป็นก้าวแรกของ Uber ในสนามแข่งขันธุรกิจนี้ แต่อย่างที่รู้กันคือพวกเขาไม่ได้เป็นเจ้าแรกและนอกจาก Mobike และ Ofo แล้ว JUMP ก็ยังมีคู่แข่งธุรกิจสัญชาติอินเดียชื่อ Ola Pedal ที่ให้บริการในมหาวิทยาลัยต่างๆในอินเดียด้วย แม้แต่ Grab กับ Didi ก็ยังเข้ามาร่วมวงสังสรรค์เฮฮาปาร์ตี้จักรยานนี้ด้วยเช่นเดียวกัน

Uber กับ JUMP ไม่ได้เปิดเผยเนื้อหาข้อตกลงทางธุรกิจครั้งนี้ แต่อย่างน้อยจะเป็นการร่วมมือกันให้บริการที่เมืองซานฟรานซิสโก ในระยะเวลา 18 เดือน ซึ่งแน่นอนว่าเป้าหมายของUber และ JUMP นั้นไม่ได้หยุดอยู่แค่เมืองนี้ ต้องมีการวางแผนเผื่อการขยายออกไปให้กว้างขึ้นในอนาคต ถึงแม้ว่าตอนนี้ยังต้องทุ่มกับโปรเจกต์ที่กำลังอยู่ตรงหน้าก็ตาม

 

ย้อนกลับมาที่บ้านเรา หลังจากที่ Mobike เข้ามาในเชียงใหม่เมื่อประมาณต้นปี มีเพื่อนคนหนึ่งไปลองปั่น แล้วถ่ายรูปลงโซเชียลตามระเบียบ พอมีโอกาสได้คุยกันเลยถามถึงประสบการณ์ในตอนนั้น เขาบอกว่ามันก็สนุกดี เหมือนไปเดินตามหาโปเกมอน เสร็จปุ๊บเจอแล้วก็ปั่นได้สักพัก พอเบื่อก็จอดแค่นั้น พอถามต่อว่าจะกลับไปใช้อีกไหม คำตอบที่ได้กลับมาคือ “ร้อน…ไม่ไหววะ”

แน่นอนว่าเพื่อนคนนี้อาจเป็นเพียงส่วนน้อยของจำนวนผู้ใช้จริง แต่ก็หลีกเลี่ยงประเด็นคำถามนี้ไม่ได้ว่าธุรกิจนี้จะเหมาะกับภูมิอากาศบ้านเราจริงๆ ไหม? แถมช่วงหลังๆ เริ่มมีคนบอกว่าเห็นตะกร้ารถจักรยาน Mobike หลุดวางบนพื้นตามที่ต่างๆด้วยเช่นกัน (ไม่แน่ใจว่าเพราะสาเหตุอะไร)

ทั้งกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และหัวเมืองต่างๆ ธุรกิจจักรยานแบบไร้สถานีกำลังเติบโตและเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ มีการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนเพราะมันเป็นรูปแบบของธุรกิจที่น่าสนใจ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเมือง แต่ต้องอย่าลืมด้วยว่าเมื่อธุรกิจกำลังอยู่ในช่วงเบ่งบาน มีผู้เล่นมากหน้าหลายตา มีเงินทุนมากมายหลั่งไหลเข้ามาสนับสนุน จำนวนจักรยานเหล่านี้ก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ยกตัวอย่างใน Washington D.C. เองก็มีถึง 6 บริษัทที่แข่งขันและให้บริการที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งอีกไม่นานบ้านเราก็คงไม่ต่างกันนัก ข้อดีก็คือลูกค้ามีทางเลือกเยอะเดินไปทางไหนก็มีจักรยานให้ปั่น แต่ถ้ามองกลับไปอีกด้านหนึ่งเมื่อรถจักรยานเหล่านี้ไม่มีสถานีให้จอด มันก็ถูกจอดทิ้งไว้บนทางเท้าบ้าง หน้าร้านค้าบ้าง หน้าบ้านคนอื่นบ้าง แล้วสมมุติว่ามันมีเยอะๆ คิดง่ายๆ แค่บริษัทละ 1000 คัน (เหมือนที่ Mobike เปิดตัวในเชียงใหม่) เราจะยังมีทางเท้าให้เดินไหมหรือมันจะเป็นพื้นที่จอดจักรยานไปซะหมด?

กลุ่มคนที่ปั่นจักรยานในเชียงใหม่มีอยู่สองกลุ่มใหญ่ๆ หนึ่งคือคนที่ปั่นอยู่แล้ว ซึ่งก็จะมีจักรยานเป็นของตัวเอง และสองคือนักท่องเที่ยว ซึ่ง Mobike เปิดตัวมาเพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับหัวเมืองแห่งนี้ของประเทศไทย ก็คงต้องรอดูกันสักพักหนึ่ง ว่าทางเลือกนี้จะถูกเลือกหรือเป็นแค่กระแสวูบวาบ แต่ถึงยังไง Ofo และ JUMP ก็คงตามมาในไม่ช้า

 

CHANIN P.
2 FEBRUARY 2018
WORLD
  • Facebook Social Icon
  • Twitter Social Icon
  • Pinterest Social Icon
bottom of page